ผู้ป่วย ”ฝีดาษลิง” หนีรพ. ล่าสุด ยังจับตัวไม่ได้ วิธีป้องกัน ติดทางไหนได้บ้าง อัพเดต 2022

หลังเหตุ “กรมควบคุมโรค” ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตว่า พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง และได้ส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) กองระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย สัญชาติ ไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564
ในส่วนข้อมูลเบื้องต้นจากการสอบสวนโรค มีกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงที่เฝ้าระวัง และได้ทำการเจาะเลือดเพื่อหาเชื้อ แล้ว 6-7 คน นอกจากนี้ทางจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการแถลงข่าวรายละเอียดความคืบหน้าการสอบสวนโรค ตลอดจนมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค คัดกรองและคัดแยกผู้ป่วย
เปิดไทม์ไลน์ผู้ป่วยฝีดาษลิงคนแรกในไทย ชาวไนจีเรีย
- วันที่ 21 ต.ค. 64 เดินทางเข้าประเทศไทย
- มีประวัติการเข้าพักอาศัยที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 ถึงปัจจุบัน
- มีประวัติเสี่ยงคือสัมผัสนักท่องเที่ยวในสถานบันเทิงที่ป่าตองใน 2-3 สัปดาห์ก่อนป่วย พร้อมทั้งให้ประวัติว่ามีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัยกับหญิงไม่สามารถระบุสัญชาติได้
- วันที่ 16 ก.ค.65 เวลา 15.30น. ได้รับแจ้งจาก รพ. ว่ามีเคสสงสัย เนื่องจากชาวไนจีเรียคนดังกล่าวไปตรวจที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ต หลังจากมีไข้ ไอ จาม และ มีตุ่มหนองที่ผิวหนัง
- วันที่ 18 ก.ค.65 เวลา 18.00น. ทราบผลแลปจากจุฬาฯ ทีมสอบสวนติดตามผู้ป่วย
- วันที่ 19 ก.ค.65 ช่วงบ่าย ทราบผลแลปยืนยันจากกรมวิทย์ฯว่าเป็นผู้ป่วยฝีดาษลิง
- วันที่ 21 ก.ค. 65 ช่วงบ่าย คณะกรรมการวิชาการโรคติดต่อแห่งชาติยืนยัน
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล ระบุกับสื่อมวลชนว่าได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว ขณะนี้กำลังให้ทางตำรวจตามล่า เพราะมีการหลบหนีจากสถานรักษาพยายาล ถือเป็นพฤติกรรมที่แย่มากยืนยันว่ามีบทลงโทษและจะใช้กฎหมาย ทุกอย่างที่มี รวมทั้งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)โรคติดต่อ และอาจมีการเนรเทศและถูกดำเนินคดี
ด้านกระทรวงสาธารณสุข แถลงเพิ่มเติมเช้าวันนี้ว่า พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย เร่งค้นหาผู้สัมผัสอื่นในโรงแรมและสถานบันเทิง
โดยได้ทำการค้นหาจากสถานบันเทิง 2 แห่งที่ผู้ป่วยเคยไปใช้บริการรวม 142 คน พบผู้ที่มีอาการไข้ เจ็บคอ จำนวน 6 ราย ในจำนวนนี้ได้รับผลตรวจจากห้องปฏิบัติการแล้ว 4 ราย ยังไม่พบการติดเชื้อฝีดาษวานร
ทั้งนี้ได้ให้ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้ที่มีอาการติดตามสังเกตอาหารตัวเอง 21 วัน และอยู่ระหว่างการค้นหาเพิ่มเติม
ขณะที่ พล.ต.ต.เสริมพันธ์ ศิริคง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ระบุว่า ได้รับการประสานงานจากสอบสวนโรค เมื่อได้รับแจ้งในวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ได้มีผู้ป่วยรายนี้อยู่ที่ใด ทราบว่าผู้ป่วยรายนี้พักอยู่ที่คอนโดแห่งหนึ่ง จึงได้เข้าไปตรวจสอบ
ในครั้งแรกไม่พบชายดังกล่าว จึงได้สอบถามคนในบริเวณนั้น พร้อมตรวจสอบกล้องวงจรปิด พบว่าชายดังกล่าวได้ออกจากที่พักไปช่วงเวลา 19.00 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม จากนั้น เจ้าหน้าที่แจ้งว่ากว่าจะไล่กล้องเห็นชายดังกล่าว เวลาได้ล่วงเลยถึงวันที่ 19 กรกฎาคม ก่อนจะทราบว่าได้เดินทางโดยรถแท็กซี่ไปยังสถานบันเทิงแห่งหนึ่งในป่าตอง
จากนั้นในเช้าของวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ได้รับการประสานว่าจะเข้ารับการรักษาตัว จากนั้นในช่วงเย็นของวันเดียวกันได้ประสานกับทีมแพทย์ แต่ไม่มาตามนัดหมาย และไม่สามารถติดต่อได้ จึงได้นำกำลังตามหาตลอดวันที่ 20 กรกฎาคม 2565
กระทั่งเวลา 19.00 น. พบว่า เข้าพักอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง จากนั้นได้สอบถาม พร้อมเช็คกล้องวงจรปิดทราบว่า ชายดังกล่าวพักอยู่กับใคร จากนั้นเวลา 21.05 น. เขาได้คืนกุญแจ และเดินออกจากโรงแรมไปโดยไม่แจ้งว่าต้องการเช็คเอ้าท์
เมื่อตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบว่า ดูสภาพความเป็นอยู่และพบว่าหายไปกับรถ 1 คัน ซึ่งคาดว่า เขาน่าจะขึ้นรถคันนั้นไป รถขับไปในทาง “กระหลิม กมลา” และเห็นล่าสุดอยู่ที่ อบต.เชิงทะเล คาดว่าจะน่าอยู่ในภูเก็ตหรือออกจากพื้นที่ไปแล้ว แต่อยู่ระหว่างการติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่ายังไม่ได้ต่อวีซ่า
เช็คด่วน! โรคฝีดาษลิง อาการของโรคฝีดาษลิง วิธีตรวจสอบด้วยตัวเองเบื้องต้น
ระยะเวลาฟักตัวของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 7-14 วัน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแสดงต่างๆ ดังนี้
- มีไข้ ไข้สูง
- ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- ปวดกระบอกตา
- ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย
อาการต่อมน้ำเหลืองโต ถือเป็นจุดเด่นที่สังเกตได้ของโรคไข้ฝีดาษลิง สามารถเกิดขึ้นได้ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่ไปสัมผัสโรคตามผิวหนัง เช่น คอ ไหปลาร้า ข้อศอก รักแร้ เป็นต้น หรือผ่านทางเยื่อบุทางเดินหายใจ จากการพูดคุย สัมผัสใกล้ชิด การจูบ ได้เช่นกัน ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตนี้จะเป็นอาการที่แตกต่างจากโรคไข้สุกใส (Chickenpox) ที่เป็นไข้ออกผื่นลักษณะเดียวกัน
- มีผื่น ตุ่มหนอง
หลังจากที่มีไข้มาประมาณ 3 วัน จะเข้าสู่ช่วงระยะออกผื่น โดยลักษณะผื่นของโรคฝีดาษลิงจะกินเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยผื่นมักจะขึ้นที่บริเวณใบหน้า แขน และขา มากกว่าที่ลำตัว
โดยลักษณะของผื่นจะเริ่มจาก จุดแดงๆ กลมๆ หลังจากนั้นผื่นจะกลายเป็น ตุ่มน้ำใส และ กลายเป็นตุ่มหนอง และกลายเป็นสะเก็ด ในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงที่ผื่นเป็นตุ่มน้ำใส และตุ่มหนอง จะเป็นช่วงระยะเวลาที่สามารถแพร่เชื้อได้สูงสุด หากผื่นเริ่มตกสะเก็ดแล้ว จะถือว่าพ้นจากระยะการแพร่เชื้อ ผื่นของโรคฝีดาษลิงจะกินลึกถึงชั้นผิวหนังด้านใน ทำให้หลังจากผื่นตกสะเก็ดจะทำเกิดรอยโรคหรือรอยแผลเป็นได้
หากเราพบผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่สงสัยติดเชื้อ จะต้องแยกผู้เสี่ยงติดเชื้อออกจากผู้อื่น เป็นเวลา 21 – 28 วัน จนกว่าผื่นจะตกสะเก็ด ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกันกับผู้เสี่ยงติดเชื้อ (อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน, เป็นสามีภรรยากัน, มีความสัมพันธ์กัน) ให้สังเกตอาการของตนเอง และแยกตัวเองออกจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน
โดยพบว่า ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน (ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.2023) หรือมีอายุมากกว่า 42 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน 5 เท่า หรือลดโอกาสการเป็นโรคได้ 80-90%
ปัจจุบัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ฝีดาษลิงที่มีอาการรุนแรง โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคได้เอง ในระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในกรณีที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัว จะมีการรักษาโดยใช้ยา Tecovirimat, Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาโรคไข้ทรพิษ
เล่นเกมสนุกๆคลิกที่นี่
อ่านข่าวอื่นๆ คลิก
More Stories
ช่อง Youtube เล่าเรื่อง เรื่องเล่า 2023 ฟังไปด้วย ทำอย่างอื่นไปด้วย เพลินๆ สายชิล ไปฟัง!!
รวมเหล่า 10 ดารา มีลูก แต่ยังแซ่บ มีลูก ยังสวย 2023
กิจกรรมแจกพิซซ่าฟรี ส่งตรงถึงหน้าบ้าน!